Friday, September 9, 2022

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ E-Book พจนานุกรมศัพท์ระบบการเมืองนานาชาติ National Political System Dictionary


 

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ E-Book พจนานุกรมศัพท์ระบบการเมืองนานาชาติ National Political System Dictionary


Britain: Cabinet อังกฤษ : คณะรัฐมนตรี

กลุ่มนักการเมืองที่เป็นแกนกลางของการปกครองของอังกฤษ คณะรัฐมนตรีนี้จะมีขนาดแตกต่างกันไปโดยมีจำนวนรัฐมนตรีตั้งแต่ 16 คนขึ้นไปจนถึง 23 คน จะได้รับการคัดเลือกโดยนายกรัฐมนตรีจากหมู่สมาชิกระดับแนวหน้าของพรรคการเมืองที่ครองเสียงข้างมากในสภาสามัญ และปกติจะมีสมาชิกของสภาขุนนางรวมอยู่ในคณะรัฐมนตรีจำนวน 2-3 คนด้วย และตามปกติในคณะรัฐมนตรีจะมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและเครือจักรภพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและวิทยาศาสตร์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสำคัญอื่น ๆ ส่วนฝ่ายค้านอย่างเป็นทางการในรัฐสภานั้นก็จะประกอบกันเป็นคณะรัฐมนตรีเงา ทำหน้าที่เป็นแกนนำในการท้าทายนโยบายและการนำนโยบายไปปฏิบัติของฝ่ายรัฐบาล

ความสำคัญ ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรีได้รับการรับรองในบทบัญญัติของกฎหมาย แต่กุญแจที่จะไขไปสู่อำนาจของนายกรัฐมนตรีและของคณะรัฐมนตรีเป็นไปตามหลักจารีตประเพณีและข้อเท็จจริงทางการเมือง คณะรัฐมนตรีจะเป็นฝ่ายกำหนดนโยบายในด้านความสัมพันธ์กับรัฐสภาโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เป็นส่วนของพรรคการเมืองที่ครองเสียงข้างมากและในส่วนที่เกี่ยวกับกิจการสาธารณะ นอกจากนี้แล้วคณะรัฐมนตรีก็ยังต้องควบคุมกิจการอื่น ๆ ของรัฐบาล ทำการควบคุมการบริหารงานของส่วนกลาง และควบคุมด้านการเงินการคลังของรัฐบาล ผ่านทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ระบบการเมืองของอังกฤษไม่เหมือนกับระบบการเมืองของสหรัฐอเมริกาตรงที่ระบบการเมืองของสหรัฐฯนั้นอำนาจและความรับผิดชอบทางการบริหารจะไปรวมอยู่ในที่เดียวกันและอยู่กับบุคคลคนเดียว แต่ระบบคณะรัฐมนตรีของอังกฤษนี้จะให้คณะผู้ปกครองทำหน้าที่รับผิดชอบอย่างมีเอกภาพและร่วมกันแม้ว่าในช่วงไม่กี่ปีมานี้ยากที่จะคงความมีเอกภาพนี้ไว้ก็ตาม ถึงแม้ว่าระบบคณะรัฐมนตรีของอังกฤษจะกำหนดให้มีคณะผู้บริหารหลายคนและให้ทั้งคณะรับผิดชอบร่วมกัน แต่ตัวนายกรัฐมนตรีถือว่าเป็นคนแรกในหมู่คนที่มีความเท่าเทียมกัน (ภาษาละตินว่า ไพรมัส อินเทอร์ พาริส)


สนใจติดต่อดูรายละเอียดและสั่งซื้อที่ลิงก์นี้

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ E-Book พจนานุกรมศัพท์นโยบายต่างประเทศ Foreign Policy Dictionary

 


หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ E-Book พจนานุกรมศัพท์นโยบายต่างประเทศ Foreign Policy Dictionary 

ตัวอย่าง

Balance of Power ดุลอำนาจ

แนวความคิดว่าด้วยวิธีการที่รัฐต่าง ๆ ใช้จัดการกับปัญหาความมั่นคงแห่งชาติ ในรูปแบบของการยักย้ายความเป็นพันธมิตรและการเข้าฝักเข้าฝ่าย ระบบดุลอำนาจนี้เกิดขึ้นจากการรวมผลประโยชน์ของแต่ละรัฐที่มีความเกี่ยวข้องกันให้เข้ามารวมอยู่ด้วยกัน เพื่อขัดขวางผลประโยชน์ของรัฐอื่น ๆ ระบบนี้เกิดขึ้นเมื่อรัฐที่ต้องการเปลี่ยนสถานภาพเดิม ทำการคุกคามความมั่นคงของรัฐที่ต้องการรักษาสถานภาพเดิม แนวความคิดเรื่องดุลอำนาจในทางความสัมพันธ์ระหว่างรัฐนั้น สามารถแสดงให้เห็นได้ในรูปของสมการอำนาจ กล่าวคือ แฟกเตอร์หรือองค์ประกอบของสมการแต่ละข้าง บางทีอาจจะเป็นแบบมีสมดุลกัน หรือบางทีก็อาจมีข้างหนึ่งหนักกว่าอีกข้างหนึ่ง ด้วยเหตุที่รัฐต่าง ๆล้วนมีอธิปไตยและจะพยายามเพิ่มพูนผลประโยชน์แห่งชาติตนอยู่เสมอ ดุลอำนาจนี้จึงอยู่ในภาวะเปลี่ยนแปลงอยู่เป็นปกติ รัฐใดรัฐหนึ่งอาจจงใจดำเนินนโยบายสร้างดุลอำนาจนี้ก็ได้ ตัวอย่างเช่น บริเตนใหญ่ (อังกฤษ) เคยทำแบบนี้ในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 ทั้งนี้บริเตนใหญ่ (อังกฤษ) เล็งเห็นว่าผลประโยชน์ของตนจะสามารถรักษาไว้ได้ด้วยการที่ตนแสดงบทบาทเป็นผู้ถือดุล เพื่อดำรงดุลยภาพแห่งอำนาจในภาคพื้นยุโรป โดยวิธีที่คอยเคลื่อนย้ายน้ำหนักของตนเข้าไปหาฝ่ายที่อ่อนแอกว่าเมื่อยามที่ดุลยภาพถูกคุกคาม

ความสำคัญ ปรากฏการณ์ดุลอำนาจนี้ มีปรากฎอยู่ดาษดื่นในการเมืองระหว่างประเทศ และก็เป็นลักษณะสำคัญในการต่อสู้ช่วงชิงอำนาจกัน นี้เป็นผลพวงเกิดจากระบบรัฐที่รัฐมวลสมาชิกซึ่งมีเอกราชมีอธิปไตย ต่างมีอิสระที่จะเข้าร่วมหรือถอนตัวจากการเป็นพันธมิตรและเข้าฝักเข้าฝ่าย เพราะแต่ละรัฐสมาชิกต่างก็พยายามที่จะเสริมสร้างความมั่นคงและเพิ่มพูนผลประโยชน์แห่งชาติให้แก่ฝ่ายตนทั้งนั้น ดุลอำนาจนี้มิใช่เรื่องของการแสดงออกถึงความสนใจทั่ว ๆ ไป ในรูปแบบที่เป็นนามธรรม อย่างเช่นในเรื่องของสันติภาพ ทั้งนี้เพราะสันติภาพอาจจะเป็นหรืออาจจะไม่เป็นผลประโยชน์แห่งชาติตนก็ได้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับกาลเวลา สถานที่ และสถานการณ์ ดุลอำนาจนี้ไม่มีองค์การกลางที่มาคอยชี้นำ และการรวมตัวของรัฐต่าง ๆ ที่มาประกอบเป็นดุลอำนาจนี้จะมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว คือ จะมีการโยกย้ายสมาชิกภาพ การมารวมตัวกันมีห้วงเวลาสั้น ๆ และมีจุดประสงค์จำกัด ดุลอำนาจแบบหลากหลายได้เกิดขึ้นในช่วงตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยมีลักษณะโดดเด่น คือ มีการโยกย้ายปรับเปลี่ยนการรวมตัวกันของมหาอำนาจต่าง ๆ อย่างน้อย 5 ชาติด้วยกัน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความยืดหยุ่น มีจุดประสงค์จำกัด และการดำรงอยู่อย่างต่อเนื่องของมหาอำนาจที่มามีส่วนร่วมในดุลอำนาจนี้ด้วย อย่างไรก็ดี ได้มีดุลอำนาจแบบง่าย ๆ หรือดุลอำนาจแบบสองขั้วเกิดขึ้นมาในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยการครอบงำของสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกา การเกิดดุลอำนาจแบบสองขั้วนี้เป็นสิ่งที่มีอันตราย เพราะเป็นการลดความยืดหยุ่น มีการแยกผลประโยชน์ไปตามประเด็นที่แยกสองอภิมหาอำนาจออกจากกัน และเป็นการลดโอกาสที่จะปรับเปลี่ยนฝ่ายกันใหม่ อย่างไรก็ดี เมื่อมีการผ่อนคลายความกระชับการเป็นพันธมิตรในสงครามเย็น และมีการพัฒนาระบบหลายขั้วอำนาจของทั้งสองฝ่ายในสมดุลอำนาจขึ้นมาแล้ว สภาวะก็ได้กลับคืนสู่ดุลอำนาจแบบหลากหลายอีกครั้งหนึ่ง กลไกดุลอำนาจระหว่างประเทศไม่ว่าจะเป็นแบบง่าย ๆ หรือเป็นแบบซับซ้อน มีแนวโน้มที่จะบังเกิดขึ้น หากมีการจัดอำนาจทางการเมืองเสียใหม่ โดยให้กระจายออกไปอย่างกว้างขวางโดยยึดหลักการอื่นที่มิใช่ระบบกระจายอำนาจของรัฐที่มีเอกราชและอธิปไตยอย่างในปัจจุบัน

สนใจติดต่อดูรายละเอียดและสั่งซื้อที่ลิงก์นี้ 

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ E-Book พจนานุกรมศัพท์การควบคุมอาวุธและการลดกำลังรบ Arms Control and Disarmament Dictionary

 


หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ E-Book พจนานุกรมศัพท์การควบคุมอาวุธและการลดกำลังรบ Arms Control and Disarmament Dictionary

ตัวอย่าง

Arms Control การควบคุมอาวุธ

มาตรการต่าง ๆ ที่ได้ดำเนินการแต่เพียงฝ่ายเดียว หรือที่ได้ดำเนินการโดยผ่านทางข้อตกลงระหว่างรัฐ เพื่อลดอันตรายของสงครามโดยวิธีการต่าง ๆ เป็นต้นว่า การลดกำลังรบบางส่วน การจัดทำข้อตกลงเกี่ยวกับความมั่นคงเพื่อหลีกเลี่ยงสงครามนิวเคลียร์ และการสร้างเสถียรภาพให้เกิดขึ้นในระดับกองกำลัง มาตรการควบคุมอาวุธนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อจำกัดการแข่งขันอาวุธในบางส่วนเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น ห้ามมิให้มีอาวุธบางประเภท จำกัดการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ หรือสร้างเขตปลอดทหารในบางพื้นที่ทางภูมิศาสตร์

ความสำคัญ ถึงแม้ว่าศัพท์ว่า การควบคุมอาวุธและการลดกำลังรบนี้ ในบางครั้งจะมีการใช้แทนกันได้ก็จริง แต่การควบคุมอาวุธก็มีข้อแตกต่างจากการลดกำลังรบ ตรงจุดที่การควบคุมอาวุธมีจุดประสงค์หลัก คือ เพื่อสร้างเสถียรภาพยิ่งกว่าเพื่อจะไปลดหรือจำกัดอาวุธ มาตรการควบคุมอาวุธที่ได้รับมาใช้เพื่อจำกัดการแข่งขันอาวุธในยุคปัจจุบันนี้มีดังนี้ คือ (1) สนธิสัญญาแอนตาร์กติกปี ค.ศ. 1959 มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ทวีปแอนตาร์กติกาเป็นเขตปลอดทหาร (2) สนธิสัญญาห้ามทดลองนิวเคลียร์บางส่วนปี ค.ศ. 1963 มีจุดมุ่งหมายเพื่อห้ามการทดลองนิวเคลียร์ทุกพื้นที่ยกเว้นการทดลองนิวเคลียร์ที่ใต้ดิน (3) สนธิสัญญาอวกาศปี ค.ศ. 1967 มีจุดมุ่งหมายเพื่อห้ามนำอาวุธนิวเคลียร์ขึ้นไปติดตั้งอยู่ในอวกาศ และในวัตถุในฟากฟ้าใด ๆ (4) มีการติดตั้งสายคมนาคมเชื่อมโยงกันโดยตรง (ฮอตไลน์) เมื่อทศวรรษหลังปี ค.ศ. 1960 ระหว่างกรุงมอสโกกับกรุงวอชิงตัน กับกรุงปารีส และกับกรุงลอนดอน (5) สนธิสัญญาห้ามนำอาวุธเข้าไปในละตินอเมริกา (สนธิสัญญาทลาตีลอลโก) ซึ่งสร้างเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ขึ้นที่ละตินอเมริกา (เอ็นดับเบิลยูเอฟเซช) (6) สนธิสัญญาห้ามแพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ปี ค.ศ. 1967 ซึ่งเป็นการหาทางจำกัดสมาชิกสมาคมนิวเคลียร์ให้มีจำนวนคงเดิม (7) สนธิสัญญาพื้นท้องทะเลปี ค.ศ. 1970 ซึ่งห้ามติดตั้งอาวุธนิวเคลียร์ในพื้นท้องทะเลนอกน่านน้ำอาณาเขตสิบสองไมล์ โดยรัฐผู้ลงนามในสนธิสัญญานี้ และ (8) สนธิสัญญาจำกัดอาวุธทางยุทธศาสตร์ ที่เรียกกันว่า ซอลท์วัน และซอลท์ทู ซึ่งเป็นความพยายามของทั้งของสหภาพโซเวียตและของสหรัฐอเมริกาที่จะงดการแข่งขันทางด้านอาวุธ

 สนใจดูรายละเอียดและสั่งซื้อที่ลิงก์นี้


หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ E-Book พจนานุกรมศัพท์ชาตินิยม จักรวรรดินิยมและลัทธิล่าอาณานิคม Nationalism Imperialism and Colonialism Dictionary

 




หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ E-Book พจนานุกรมศัพท์ชาตินิยม จักรวรรดินิยมและลัทธิล่าอาณานิคม Nationalism Imperialism and Colonialism Dictionary

ตัวอย่าง

Apartheid (Apartness) การถือผิว(การแยกสีผิว)

นโยบายอย่างเป็นทางการของประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ที่จะแยกคนต่างผิวออกจากกัน โดยใช้วิธีออกกฎหมายเลือกปฏิบัติอย่างเปิดเผย นโยบายนี้ได้ออกแบบมาเพื่อให้คนกลุ่มน้อยชาวยุโรปสามารถควบคุมรัฐนี้อยู่ตลอดกาล ทั้ง ๆ ที่ประชากรของแอฟริกาใต้ ซึ่งมีอยู่ประมาณ 31 ล้านคนนั้น เป็นคนแอฟริกัน (ผิวดำ) ประมาณถึง 71 เปอร์เซ็นต์ เป็นคนยุโรป (ผิวขาว) แค่ 13 เปอร์เซ็นต์ คนผิวสี (เลือดผสม)13 เปอร์เซ็นต์ และคนเอเชีย 3 เปอร์เซ็นต์ ประเทศแอฟริกาใต้นี้ เป็นประเทศที่พัฒนาทางเศรษฐกิจแล้ว มีผลผลิตรายได้ประมาณหนึ่งในสามของรายได้รวมของทวีปแอฟริกา ทั้ง ๆ ที่มีพื้นที่เพียง 4 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทวีป และมีประชากรเพียง 6 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งทวีป

ความสำคัญ ความโหดร้ายทารุณของการปกครองโดยคนผิวขาวนี้ ได้นำไปสู่ความรุนแรงที่พร้อมจะ ระเบิดกลายเป็นการนองเลือดได้ทุกขณะ การคัดค้านจากภายนอกโดยการนำของประชาชาติแอฟริกัน-เอเชีย เป็นตัวกระตุ้นให้ต่างชาติเข้าแทรกแซง และทำให้สถานการณ์ในแอฟริกาใต้เป็นกระทู้สดในสหประชาชาติอยู่เสมอ ถึงแม้ว่านโยบายการแยกผิวนี้จะถูกประณามจากมติโลก แต่ทว่าความพยายามทั้งหลายทั้งปวงที่จะใช้การคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อต้านนโยบายนี้ กลับล้มเหลวมาตลอด ความตึงเครียดทั้งภายในและภายนอกที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นี้ได้ทำการคุกคามสันติภาพทั้งในระดับภูมิภาคและในระดับโลกด้วย

สนใจคลิกดูรายละเอียดและสั่งซื้อที่ลิงก์นี้

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ E-Book พจนานุกรมศัพท์ทางการทูต Diplomacy Dictionary

 



หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ E-Book พจนานุกรมศัพท์ทางการทูต Diplomacy Dictionary

อธิบายศัพท์อังกฤษ-ไทย ศัพท์ที่ใช้อธิบายอิงศัพท์บัญญัติพจนานุกรมทางรัฐศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน

ตัวอย่าง

Diplomacy การทูต

แนวปฏิบัติเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐโดยผ่านทางผู้แทนที่เป็นทางการการทูตนี้อาจจะเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับกระบวนการของความสัมพันธ์ต่างประเทศทุกอย่างทั้งที่เป็นส่วนของการกำหนดนโยบายและส่วนของการดำเนินนโยบาย ในแง่ที่มีความหมายกว้าง ๆ นี้ การทูตและนโยบายต่างประเทศเป็นสิ่งเดียวกัน แต่ในแง่ที่มีความหมายแคบเข้ามาหรือในแง่ที่มีมาตั้งแต่ดั้งเดิมหรือตามประเพณีนั้น การทูตนี้จะเป็นเรื่องของวิธีการและกลไกต่าง ๆ ที่จะให้นโยบายต่างประเทศสามารถบรรลุเป้าหมายหรือจุดมุ่งหมายได้ ในแง่ที่มีความหมายแคบลงมาหน่อยนี้ การทูตจึงหมายถึงเทคนิคทางปฏิบัติการที่รัฐใดรัฐหนึ่งนำมาใช้เพื่อขยายผลประโยชน์ออกไปนอกเขตแดนหรือนอกเขตอำนาจศาลของตน เมื่อรัฐต่าง ๆ ต้องมีการเกี่ยวโยงและพึ่งพาอาศัยกันมากขึ้น จึงทำให้การประชุมระหว่างชาติ การประชุมในแบบพหุภาคี และการทูตแบบประชุมรัฐสภามีปริมาณเพิ่มขึ้นมาเรื่อย ๆ อย่างไรก็ดี เนื่องจากรัฐต่าง ๆ มีการติดต่อสัมพันธ์กันบ่อยครั้งขึ้น และเรื่องที่ติดต่อกันนั้นก็มีหลายเรื่องด้วยกัน จึงทำให้กิจกรรมทางการทูตกลายเป็นเรื่องที่ทำกันในระดับทวิภาคีไป และกิจกรรมทางการทูตเหล่านี้ ก็ได้กระทำกันโดยผ่านทางช่องทางการทูตปกติ กล่าวคือ ผ่านทางกระทรวงการต่างประเทศ และผ่านทางผู้แทนทางการทูตที่ส่งไปประจำอยู่ตามประเทศต่าง ๆ แต่หากเป็นเรื่องที่วิกฤตมาก ๆ บางทีก็จะใช้วิธีเจรจาในระดับสูงสุด คือ ให้ประมุขรัฐบาลเข้าประชุมในการทูตระดับสุดยอด

ความสำคัญ การทูตที่นำมาใช้กันมีรูปแบบดังนี้ คือ การทูตแบบเปิดเผยหรือการทูตแบบลับ การทูตแบบทวิภาคีหรือการทูตแบบพหุภาคี การทูตแบบระดับรัฐมนตรีหรือการทูตแบบระดับประมุขรัฐบาล ซึ่งแต่ละอย่างจะมีการใช้แตกต่างกันไปในแต่ละรัฐ ในแต่ละสถานการณ์ ในแต่ละสภาวะแวดล้อมทางการเมือง และในแต่ละผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้อง การทูตทุกรูปแบบมีส่วนเกื้อกูลต่อระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศให้เป็นไปด้วยความราบรื่น และเป็นเทคนิควิธีทางการเมืองที่สามัญที่สุดสำหรับใช้แก้ไขข้อพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติ แม้ว่าจะได้มีการนำเอาเทคโนโลยีมาสนับสนุนอย่างไร แต่ก็ยังถือว่าการทูตนี้เป็นศิลป์มากกว่าที่จะเป็นศาสตร์ และถือว่าการติดต่อระหว่างบุคคลเป็นปัจจัยสำคัญในความสัมพันธ์แห่งรัฐทั้งหลาย


สนใจดูรายละเอียดและสั่งซื้อได้ที่นี่


หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ E-Book พจนานุกรมศัพท์กฎหมายระหว่างประเทศ International Law Dictionary

 


หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ E-Book พจนานุกรมศัพท์กฎหมายระหว่างประเทศ International Law Dictionary

เป็นพจนานุกรมในแบบอธิบายความอังกฤษ-ไทย ศัพทบัญญัติในภาษาไทยอิงศัพท์บัญญัติของพจนานุกรมศัพท์ททางรัฐศาสตร์ ของราชบัณฑิตยสถาน


ยกตัวอย่าง


Citizen พลเมือง

สถานภาพทางกฎหมาย ที่จะทำให้บุคคลมีเอกสิทธิ์และความรับผิดชอบจากความเป็นสมาชิกที่สมบูรณ์ในรัฐ สถานภาพของพลเมืองสามารถได้มาโดย 3 วิธี คือ (1) โดยที่เกิด (หลักดินแดน) หรือได้ความเป็นพลเมืองโดยสถานที่เกิด (2) โดยสายเลือด (หลักสายโลหิต) หรือได้ความเป็นพลเมืองโดยการเกิด คือกำหนดโดยความจงรักภักดีของบิดามารดา และ (3) โดยการแปลงสัญชาติ คือ การถ่ายโอนความจงรักภักดีอย่างเป็นทางการ

 

ความสำคัญ การมีสถานภาพของพลเมือง จะทำให้บุคคลได้หลักประกันว่าตนจะได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายและจากอำนาจของรัฐตน แต่พลเมืองก็จะมีหน้าที่ที่ต้องทำ เช่น เสียภาษีอากรแก่ประเทศของตนและเป็นทหารรับใช้ในกองทัพของประเทศตน กับจะมีสิทธิบางอย่าง เช่น สิทธิในการลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้ง และเมื่อไปอยู่ที่ต่างประเทศก็จะสามารถเรียกร้องขอรับการบริการจากคณะทูตและกงสุลจากประเทศตนได้ด้วย สถานภาพของพลเมืองอาจสิ้นสุดลงได้ด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ แต่ว่าโดยทั่ว ๆ ไปแล้วการสิ้นสุดความเป็นพลเมืองเป็นไปได้ด้วยเหตุผลดังนี้ คือ (1) ไปพำนักอยู่ในต่างประเทศนานๆ (2) รับใช้รัฐต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต (3) กล่าวคำสัตย์ปฏิญาณว่าจะจงรักภักดีต่อรัฐอื่น และ (4) แปลงสัญชาติ บุคคลอาจมีความเป็นพลเมืองของสองประเทศได้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับหลักกฎหมายของสองประเทศนั้น หรือที่เลวร้ายยิ่งกว่านั้นบุคคลอาจจะกลายเป็นบุคคลไร้สัญชาติได้ ซึ่งก็จะทำให้ไม่สามารถร้องขอความคุ้มครองจากประเทศใด ๆ ตามสิทธิของความเป็นพลเมืองได้

สนใจคลิกดูรายละเอียดและซื้อได้ที่ลิงก์นี้


Wednesday, June 10, 2020

พจนานุกรมศัพท์ภาษาบาลี ศัพท์ทางรัฐศาสตร์ การเมิแง การปกครอง และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ


พจนานุกรมศัพท์ภาษาบาลี ศัพท์ทางรัฐศาสตร์ การเมิแง การปกครอง และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

คู่มืออุภัยพากยปริวัตน์ คู่มือหัดแปลภาษาบาลี ็Handbook for Pali Translation by Thongbai Dhiranandankura
Kindle Edition
$8.00
พจนานุกรมศัพท์บาลี-ไทย Pali-Thai Dictionary
by Thong Dhirandandankura and Dhirandandankura Dhirandandankura
Kindle Edition
$25.00

พจนานุกรมศัพท์ทางการทูต Diplomacy Dictionary by Thongbai Dhiranandankura
Kindle Edition
$6.00

พจนานุกรมศัพท์ชาตินิยม จักรวรรดินิยม และลัทธิอาณานิคม Nationalism, Imperialism and Colonialism Dictionary
by Thongbai Dhiranandankura
Kindle Edition
$6.00
พจนานุกรมศัพท์กฎหมายระหว่างประเทศ International Law Dictionary
by Thongbai Dhiranandankura
Kindle Edition
$6.00

พจนานุกรมศัพท์การควบคุมอาวุธและการการลดกำลังรบ Arms Control and Disarmament Dictionary
by Thongbai Dhiranandankura
Kindle Edition
$6.00
พจนานุกรมศัพท์ชาตินิยม จักรวรรดินิยม และลัทธิอาณานิคม Nationalism, Imperialism and Colonialism Dictionary
by Thongbai Dhiranandankura
Kindle Edition
$6.00
พจนานุกรมศัพท์ภูมิศาสตร์และประชากร Geography and Population Dictionary
by Thongbai Dhirandandankura and Thongbai Dhiranandankura
Kindle Edition
$6.00
พจนานุกรมศัพท์ระบบการเมืองนานาชาติ National Political System Dictionary
by Thongbai Dhiranandankura
Kindle Edition
$6.00
พจนานุกรมศัพท์องค์การระหว่างประเทศ International Organizations Dictionary
by Thongbai Dhiranandankura
Kindle Edition
$6.00
พจนานุกรมศัพท์สงครามและนโยบายทางการทหาร War and Military Policies Dictionary
by Thongbai Dhiranandankura
Kindle Edition
$6.00
พจนานุกรมศัพท์เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ International Economics Dictionary
by Thongbai Dhiranandankura
Kindle Edition
$6.00
พจนานุกรมศัพท์อุดมการณ์และการคมนาคม Ideology and Communication Dictionary
by thongbai dhiranandankura and thongbai dhirannandankura
Kindle Edition
$5.00
พจนานุกรมศัพท์ระบบการเมืองของสหรัฐอเมริกา National Political System of the United States Dictionary
by Thongbai Dhiranandankura
Kindle Edition
$6.00



Google

>